ที่ดินเปล่าก็ถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่า เปรียบเหมือนอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถทำให้เกิดประโยชน์ง อ ก เ ง ย ขึ้ นมาได้ ซึ่งที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ หากไม่ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมา หรือไม่มีสิ่งปลูกสร้าง หรือไม่มีผู้อยู่อาศัย จนกลายเป็นที่ดินรกร้าง แม้จะมีโฉนดที่ดิน เป็นก ร ร ม สิ ท ธิ์ ถื อค ร อ ง อ ยู่ ก็อาจทำให้เสียสิทธิ์ครอบครองได้เช่นกัน เพราะตามกฎหมายแล้ว ถือว่าผู้ครอบครองปล่อยปะละเลยไม่ทำให้ผืนดินแห่งนั้นเกิดประโยชน์อีกด้วย ดังนั้นวิธีการดูแลที่ดินเปล่า เพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์การครอบครองไปก็ทำได้ง่ายๆ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การครอบครองปรปักษ์ในทางกฎหมายที่ดิน หมายถึง ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของแต่ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ได้โดยสงบและเปิดเผย หากเป็นอสังหาริมทรัพย์ครอบครองไว้นานเกินสิบปี บุคคลนั้นจะได้ก ร ร มสิทธิ์ หากผู้ที่เป็นเจ้าของเองไม่ต้องการเสียสิทธิ์ในส่วนนี้ไป จึงควรต้องหมั่นดูแลทรัพย์สินของตนเองให้ดี ด้วยวิธีเหล่านี้
1 หมั่นไปดูแลที่ดินของตนเองเป็นประจำ อ ย่ า งน้อยที่สุดปีละ 1 ครั้งก็ยังดี
2 เมื่อไปตรวจดูที่ดินของตนเอง ให้สังเกต และ ลองสอบถามชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงว่า มีใครได้เข้ามาในที่ดินของตนหรือไม่
3 ตรวจสอบหลักหมุดของที่ดิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของพื้นที่ดิน ให้เช็คว่ายังอยู่ที่เดิมหรือมีการชำรุดเสียหายหรือไม่
4 หากหลักหมุดหายให้รีบไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อขอการดำเนินคดี เพราะการทำล า ยหลักหมุดถือเป็นค ดี อ า ญ า และไปแจ้งกับกรมที่ดินเพื่อให้ดำเนินการให้เรียบร้อย
5 ควรวัดรังวัดที่ดิน อย่ า ง น้อยทุกๆ 5 ปี เพื่อตรวจสอบที่ดินว่ามีความผิดปกติ เพิ่มหรือลดลงหรือไม่ โดยเฉพาะกับที่ดินที่ติดกับริ่มน้ำหรือริมตลิ่ง
6 หากมีผู้อื่นเข้ามาอยู่อาศัยให้ทำการตกลงกันว่าจะมาขอเช่าพื้นที่ดิน หรือ ต้องการทำการซื้อขายให้เรียบร้อย หากไม่ก็ควรไล่ออกจากพื้นที่
7 ล้อมรั้วที่ดินให้ชัดเจนเป็นการแสดงอาณาเขตว่า ที่ดินมีเจ้าของ
8 อาจปักป้ายเพิ่มเติมว่าเป็นที่ดินส่วนบุคคล มีเจ้าของไม่ใช่พื้นที่สาธารณะ
9 สังเกตว่ามีร่องรอยการเดินผ่ า น หรือโดยใช้เป็นเส้นทาง ผ่ า นของรถหรือไม่ หากมีก็ให้กั้นทางเสียเป็นการป้องกันไม่ให้ใช้พื้นที่
วิธีเหล่านี้จะช่วยทำให้เจ้าของที่ดินเปล่าไม่เสียสิทธิ์การครอบครองที่ควรจะเป็นของตน แต่ทั้งนี้การทำให้ที่ดินเปล่าเกิดประโยชน์งอกเงยขึ้นมาจะดีต่อตัวเจ้าของผู้ครอบครองมากกว่าด้วย
ที่มา : krustory